ผลสำรวจเผย คนไทยเดินทางเพิ่มมากขึ้น 69% ตั้งใจที่จะเดินทางในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2565 นี้

ยุโรป แอสซิสแทนซ์ (Europ Assistance) เผยผลสำรวจ Holiday Barometer ประจำปี ครั้งที่ 21 โดยข้อมูลจากทั่วโลกเผยว่า ผู้คนมีความต้องการในการเดินทางเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีระดับที่สูงกว่าปี 2562 และ 69% ของคนไทยตั้งใจที่จะเดินทางในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน เพิ่มขึ้น 25 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564

จูเลีย ริกค์ หัวหน้าฝ่ายการเดินทางระหว่างประเทศของ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า “ความคิดที่อยากจะเดินทางเพิ่มมากขึ้นในปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นเต้นสำหรับนักเดินทาง ซึ่งสูงกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เมื่อเทียบกับปี 2564 เราพบว่าการเดินทางระหว่างประเทศได้กลับมาสูงอีกครั้งและงบที่ตั้งใจไว้ไปพักผ่อนเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเอื้อต่อการเดินทางโดยเครื่องบินและการเดินทางไป จุดหมายปลายทางอย่างเมืองใหญ่”

“อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีผลในการตัดสินใจแต่ไม่หยุดยั้งแผนในการเดินทางท่องเที่ยวเนื่องจากผู้คนมีความกระตือรือร้นที่จะเดินทาง หลังจากมีข้อจำกัดอย่างต่อเนื่องในสองปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของการเดินทางในปีนี้ การจองทริปและประกันการเดินทางกลายเป็นอะไรทีนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น” จูเลีย ริกค์ กล่าวเสริม

งบประมาณในการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยควรที่จะสูงกว่าปี 2564 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ถูกจำกัดโดยเงินเฟ้อ

รายงานเผยว่านักท่องเที่ยวตั้งงบประมาณการเดินทางในปีนี้สูงกว่าในปี 2564: คนอเมริกันตั้งใจที่จะใช้จ่ายเพิ่มอีก 440 ดอลลาร์สหรัฐ โดยงบประมาณทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2,760 ดอลลาร์สหรัฐ (+19% เมื่อเทียบกับปี 2564) ในยุโรป งบประมาณช่วงวันหยุดเทศกาลอยู่ที่ประมาณ 1,800 ยูโร (+220 ยูโร, +14% เมื่อเทียบกับปี 2564) และงบประมาณวันหยุดที่คนไทยตั้งใจจะใช้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 โดยเพิ่มขึ้น 18% (62,800 บาท)

ในปี 2565 ผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบในการตัดสินใจที่จะเดินทางในปีนี้: โดย 69% ของชาวยุโรป, 62% ของชาวอเมริกัน, 70% ของชาวแคนาดา, 63% ของชาวออสเตรเลีย และ 77% ของคนไทย บอกว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ นอกจากนี้ การเฝ้าระวังด้านการเงินยังถูกกล่าวว่าเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ส่งผลให้ตัดสินใจไม่เดินทาง โดย 41% ของชาวยุโรปเลือกไม่เดินทางในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน (+14 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564) 45% ของชาวอเมริกัน (+9 จุด) และ 34% ของคนไทย (+10 จุด) เนื่องจากสาเหตุดังกล่าว

โควิด-19 ยังคงมีผลในการตัดสินใจสำหรับนักเดินทาง แต่ลดความสำคัญลง

โดยรวมแล้ว ระดับความกังวลของทั่วโลกเกี่ยวกับโควิด-19 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องแผนการเดินทางและการพักผ่อน โดย 53% ของชาวยุโรปและ 46% ของชาวอเมริกัน เผยว่าโควิด-19 มีผลกระทบต่อความต้องการในการเดินทาง อย่างไรก็ตามโควิด-19 ยังคงมีผลกระทบสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวแคนาดาหรือชาวออสเตรเลีย (60%) และยังคงมีปริมาณสูงในหมู่คนไทย (81%)

นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพยังคงเป็นปัจจัยสำคัญเมื่อคิดถึงการเดินทางครั้งต่อไปของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย รองลงมาคืออัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าความกังวลด้านโควิด-19 จะลดลง คนไทยยังคงเลือกที่จะไปเที่ยวอย่างระมัดระวังโดยหลีกเลี่ยงบางประเทศ อย่างไรก็ตาม ระดับความระมัดระวังได้ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2564 และเมื่อคิดถึงการเดินทางครั้งต่อไป ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยังคงรู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตสุขอนามัย แต่มีระดับน้อยกว่าปีที่แล้ว และความปรารถนาที่จะเดินทางไปต่างประเทศเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ฉีดวัคซีนอีกด้วย

ความกังวลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ที่ลดลง ได้ทำให้การท่องเที่ยวในเมือง มีความน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวอีกครั้ง แม้ว่าในประเทศไทย การท่องเที่ยวในเมือง จะยังคงได้รับความนิยมน้อยกว่าชายทะเล (58% เทียบกับ 37%) และสถานที่เที่ยวนอกเมืองกับภูเขา

จากข้อมูลเผยว่าในเกือบทุกประเทศ ระดับการจองทริปโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยมีการจองทริปสำหรับวันหยุดล่วงหน้าเร็วขึ้นกว่าปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีเตรียมการดีที่สุด ซึ่งมากกว่า 50% ได้ทำการรจองบางส่วนของแผนการเดินทางไว้เรียบร้อยแล้ว

โควิด-19 ถือว่ามีผลต่อพฤติกรรมการซื้อประกันการเดินทาง เนื่องจากความต้องการการคุ้มครองที่มากขึ้นด้วยประกันการเดินทางดูเหมือนจะเป็นสิ่งสำคัญของเกือบทุกประเทศที่ได้ทำการสำรวจ โดยมีจำนวนสูงเป็นพิเศษในเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย 75%, ออสเตรเลีย 54%), ในสหราชอาณาจักร (49%) หรือในยุโรปใต้ (สเปน 50%, อิตาลี และโปรตุเกส 45%)

การเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ในทุกประเทศ: 48% (+13 จุด) ของชาวยุโรป, 36% (+11 จุด) ของชาวอเมริกัน และ 56% (+7 จุด) ของคนไทยที่ตั้งใจจะเดินทางไปต่างประเทศในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่คุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ: อังกฤษ (+24 จุด), สวิส (+7 จุด) และเบลเยียม (+7 จุด) จะออกเดินทางไปเมืองนอกกันมากขึ้น

เมื่อเลือกเดินทางไปต่างประเทศ นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนมากจะเลือกประเทศที่อยู่ไม่ไกลจนเกินไป โดยประเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือญี่ปุ่น รองลงมาคือเกาหลีใต้และสิงคโปร์ โดย สภาพอากาศและการความคุ้นเคยของประเทศนั้นๆ ถือเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการเลือกจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย นอกจากนี้ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกประเทศ

นักท่องเที่ยวได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง ล้อไปกับการเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว สองการเดินทางที่เป็นที่นิยมยังคงเป็นเครื่องบินและรถยนต์ (46% และ 45% ของคนไทยชอบการเดินทางสองรูปแบบนี้) รถไฟหรือรถประจำทางได้รับการใช้น้อยกว่า

สถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้วหรือไม่?

เมื่อถามเกี่ยวกับการกลับสู่ “สภาวะปกติ” ของการเดินทาง แต่ละประเทศมีมุมมองที่แตกต่างกันไป ชาวไทย ออสเตรเลีย และออสเตรียเป็นกลุ่มทีมิงว่าสถานการ์ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยครึ่งของประชากรในประเทศเหล่านี้คิดว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติได้ในปี 2567 หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่มีวันกลับมาเป็นปกติเลย ในทางตรงกันข้าม ชาวโปแลนด์ เช็ก หรือสวิสเป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่ดีมากที่สุด โดยเกือบ 4 ใน 10 กล่าวว่าสถานการณ์เกือบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว

อย่างไรก็ตามโควิด-19 มีผลทำให้นิสัยของผู้คนเปลี่ยนไป ซึ่งหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรเผยว่า พวกเขาจะทำงานนอกสถานที่และไปพักผ่อนพร้อมๆกัน (“workcation หรือ การทำงานและเที่ยวไปด้วย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนไทย (70%)

เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัว ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป ได้เปิดตัวแคมเปญโซเชียลมีเดียในหลายประเทศ เปิดตัววิดีโอที่สร้างจากเรื่องจริงของลูกค้าจำนวน 3 เรื่อง ภายใต้แคมเปญแฮชแท็ก #FromDistressToRelief โดยจุดประสงค์ของแคมเปญ คือ การแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีพาร์ทเนอร์ที่ไว้ใจได้ในการช่วยดูแลผลประโยชน์จากความช่วยเหลือทางการแพทย์ด้านการเดินทางทั่วโลก รวมไปถึงความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และพันธมิตรทางการแพทย์ของยุโรป แอสซิสแทนซ์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.europ-assistance.com/from-distress-to-relief-international/

ที่มา: สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ